วิชาการ

การปรับตัวขององค์กรธุรกิจสู่ความยั่งยืน

ดร. สุรศักดิ์ จำรัสการ 

นายกสมาคมศิษย์เก่าคณะรัฐประศาสนศาสตร์ 

ในปัจจุบันความท้าทายขององค์กรธุรกิจมีความท้าทายมากขึ้นจากการที่ไม่สามารถประเมินธุรกิจด้วยวิธีคิดแบบดั่งเดิมอีกต่อไป ในการวางกลยุทธ์ขององค์กรจากที่เคยวางแผนโดยใช้ SWOT METRIX และ Five Forces Model มาวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของตนเอง นำไปสู่การกำหนดทิศทางขององค์กร เป็นกลยุทธ์องค์กร เป้าหมาย แผนการดำเนินการ เพื่อให้ธุรกิจมีความสามารถในการแข่งขันได้

                 แต่ปัจจุบันในแต่ละองค์กรธุรกิจได้ประสบกับปัญหาหลายอย่างที่ท้าทายความสามารถของผู้นำในองค์การและโครงสร้างขององค์การธุรกิจ เช่น

1 .  ปัจจัยที่เกิดจากภายนอกองค์กร ที่ธุรกิจส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบ ถึงแม้ว่าจะกระทบไม่เท่ากัน เช่น

1.1. VIRUS CRISIS จาก Covid-19 ที่แพร่กระจายไปทั่วโลก กระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเช่น โรงแรม ร้านอาหาร เป็นต้น แต่ก็สร้างผลดีให้กับบางธุรกิจ เช่น ธุรกิจการแพทย์ จากวัคซีน หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ รวมถึงธุรกิจขายและขนส่งสินค้าออนไลน์ เป็นต้น

1.2 TECHNOLOGY DISRUPTION ที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมแบบใหม่ๆเข้ามาทดแทนผลิตภัณฑ์และพฤติกรรมของลูกค้า อาจจะกล่าวได้ว่าในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาเราจะได้ยินการพูดถึง Block Chain ในการใช้ Digital Currency มาแทนการเงินในรูปแบบเดิม ซึ่งรูปแบบเทคโนโลยีที่เข้ามามีผลต่อธุรกิจก็มีผลให้องค์การต้องเร่งปรับตัวและเรียนรู้ให้เท่าทันและปรับเปลี่ยนตัวเองได้อย่างรวดเร็วให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง องค์การใดมีความยืดหยุ่น เข้าถึงและยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงย่อมมีโอกาสที่ดีกว่าองค์การที่ปรับตัวช้าเช่นกัน

1.3 War and Global Crisis ผลจากสงครามโดยเฉพาะสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ได้มีส่วนในด้านการเงิน เกิดสภาวะเงินเฟ้อในยุโรป สหรัฐอเมริกา ทำให้ FED ประกาศขึ้นดอกเบี้ยเป็นระยะๆเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ทำให้ธุรกิจการเงินระหว่างประเทศได้รับผลกระทบโดยเฉพาะสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น Crypto Currency เป็นต้น หรือแม้กระทั่งวิกฤติพลังงานในประเทศยุโรป ส่งผลกระทบทางอ้อมไปทั่วโลกเช่นกัน

 1.4 การขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม เช่นอุตสาหกรรมก่อสร้าง สิ่งทอ เป็นต้นที่ต้องพึ่งพาแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน และการขาดแคลนแรงงานทีมีความรู้ความสามารถตามที่องค์กรต้องการ กล่าวคือสถาบันการศึกษาไม่สามารถผลิตบัณฑิตที่องค์การต้องการเช่น วิศวกร ช่างฝีมือ เป็นต้น เพื่อใช้ในการพัฒนาองค์กร และการพัฒนาประเทศ รวมถึงแรงงานที่มีคุณภาพมีการย้ายถิ่นฐานไปทำงานในต่างประเทศ

1.5 Energy Consumption Crisis เป็นผลกระทบที่เกิดจากค่าพลังงานไฟฟ้าที่เป็นต้นทุนหลักของทุกภาคอุตสาหกรรม ทำให้ต้นทุนประกอบการสูงขึ้น เมื่อเทียบกลับประเทศที่เป็นคู่แข่งขันทางด้านอุตสาหกรรมกับประเทศไทยโดยตรงเช่นประเทศเวียดนาม 

1.6 Aging Society จากการที่ประเทศเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ทำให้แรงงานในระบบแรงงานลดน้อยลง ไม่สัมพันธ์กับการเกิดใหม่ของประชากร และการที่รัฐมุ่งเน้นที่รัฐสวัสดิการยิ่งทำให้งบประมาณสำหรับผู้สูงวัยสูงขึ้นเช่นกัน  

 

2 . ปัจจัยที่เกิดขึ้นภายในองค์กร

2.1 การขาดแคลนบุคลากร หลังจากเกิด Virus crisis เมื่อเหตุการณ์กลับสู่สภาวะปกติแต่ผู้ประกอบการไม่สามารถหาบุคลากรมาทดแทนบุคคลากรเดิม โดยเฉพาะธุรกิจด้านการบริการและการผลิต เนื่องจากบุคลากรปรับตัวและย้ายกลับสู่ภูมิลำเนา และเปลี่ยนอาชีพ

2.2 ผู้นำและรูปแบบองค์กรไม่ยืดหยุ่นพอกับการการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในองค์กรที่มีโครงสร้างองค์การที่ซับซ้อน หรือผู้นำองค์กรไม่กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง รวมถึงการขาดงบประมาณในการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยนขนาดองค์กร และการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี

 

              นอกจากนี้หากองค์กรธุรกิจที่ต้องการปรับตัวให้องค์กรสามารถแข่งขันได้ ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที ให้เกิดความยั่งยืนของธุรกิจ  โดยไม่ได้เป็นธุรกิจที่มุ่งเน้นผลกำไรสูงสุด แต่องค์กรธุรกิจจำเป็นต้องคำนึงถึงผลกระทบของธุรกิจต่อสังคมในมิติต่างๆ เช่น แรงกดดันจากการต้องคำนึงถึง Carbon Credit ทำให้การปรับตัวยิ่งมีความซับซ้อนมากขึ้น สิ่งสำคัญที่จะทำให้องค์การสามารถปรับตัว ละเปลี่ยนแปลงได้คือ บทบาทของผู้นำองค์กรที่จะต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับบริบทโลกให้ทัน ไม่ยึดติดกับองค์ความรู้เดิม และต้องเป็นผู้นำที่ทำให้ผู้ตามในองค์กรมีความสามารถในการปรับตัวให้ยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์ ตามบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน